วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

 พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12 กรกฎาคม 2522
          "...คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความ มั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะ สร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมท่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ..."
พระบรมราโชวาท พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2531
          "...ความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นพื้นฐานขอความ ดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้ เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมี ประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคง..."
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะคณาจารย์ดรงเรียนต่างๆ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 18 มีนาคา 2523
          "...ผู้ที่ทีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้ จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้ แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้มีความ รู้มากแต่ไม่มีความสุจริตไม่มีความบริสุทธิ์ใจ..."
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12 กรกฎาคม 2499
          "...การที่ประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ความซื่อสัตย์ สุตริจ เป็นรากฐานสำคัญ และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิด แก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย..."
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ในโอกาสวันเฉลิมประชนมพรรษา ณ ศาสาดุสิตาลัย 4 ธันวาคม 2533
          "...ทุกคนในชาติมีหน้าที่ของตัว และถ้า แต่ละคนทำให้ได้อย่างเข้มแข็ง ซื่อสัตย์ สุจริต ประเทศชาติก็ย่อมต้องปลอดภัย และก้าวหน้าไปอย่างดี..."
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรขอ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 19 ธันวาคม 2528
          "...ความเจริญนั้นจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้อง อาศัยเหตุปัจจัยประกอบกันหลายอย่าง นอก จากวิทยาการที่ดีแล้ว จะต้องอาศัญความยุติธรรมเที่ยงตรง และความสะอาดสุจริต ซึ่งต้องเป็นไป พร้อมทั้งในความคิดและการกระทำ..."
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร 8 กรกฎาคม 2520
          "...การที่จะทำงานให้สัมฤทธ์ผลที่พึงปราถนา คือที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย..."
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 สิงหาคม 2533
          "...เมื่อคิดเรื่องใดสิ่งใดต้องทำใจ ให้มั่นคงเป็นกลาง มีเหตุมีผล ความจริงใจและสุจริตเที่ยงธรรม เพื่อความคิดจักได้กระจ่างแน่วแน่ เห็นถึงจุดหมายและประโยชน์ที่แท้ ของภารกิจของตน อย่างถูกต้องครบ ถ้วนมีอิสรภาพ..."
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12 กรกฎาคม 2499
          "...การที่จะประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์เป็นรากฐานสำคัญ ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและย่อมที่จะ บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาส อีกด้วย..."
พระราดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตาลัย 4 ธันวาคม 2541
          "...คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความ โลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียน คนอื่นน้อยถ้ามีความคิดอันนี้ มีความ คิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอ ประมาณซื่อตรง ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข..."
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ สวนอัมพร 22 มิถุนายน 2522
          "...ผู้ที่มีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามสิ่งที่ ยึดมั่นนั้นคือ ความดีเป็นผู้ที่เจริญ เพราะว่าคนเราถ้าทำงานอะไร ไม่มีความคิดที่แจ่มใส ไม่มีความ คิดที่บริสุทธิ์ไม่สามรถที่ปฏิบัติงานได้เป็น ผลสำเร็จที่ดีงามและยั่งยืน..."
          "...คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคน นั้น ที่สำคัญได้แก่ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็น แก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นความ ไม่มักง่ายหยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ เป็นพิเศษ คือความขยันหมั่นเพียรด้านความซื่อสัตย์สุจริต

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติผู้แต่ง
               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี ที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓ ๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ  ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร  การปกครอง  การต่างประเทศ  และโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์  พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น  และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
               บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี  อาทิ  หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงรับการถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ. ๒๕๑๕ พระองค์ยังทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย

ความเป็นมา
               เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์  โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาบาลีจากพระไตรปิฎกตั้ง แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมลคลแต่ละข้อความก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง

จุดมุ่งหมายของการแต่ง

               มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดีคำสอนผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฎกมาแปลและเรียบเรียงแต่งเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  โดยมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นและเข้าใจได้ว่า สิริมงคลจะเกิดแก่ตัวเราได้ก็ด้วยเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดี หาได้มีที่มาจากปัจจัยอื่นแต่อย่างใด

มงคลสูตรคำฉันท์ 

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมา  สมฺพุทฺธสฺสฯ
ต้นมงคลสูตร
(๑)         ยญฺจ  ทฺวาทส  วสฺสานิ  จินฺตยํ  สุ  สเทวกา
               สิบสองฉนำเหล่า                                            นรอีกสุเทวา
               รวมกันและตริหา                                            สิริมังคลาใด
(๒)        จิรสฺสํ  จินฺตยนฺตาปิ                                         เนว  ชานํ  สุ  มงฺคลํ
               จกฺกวาฬสหสฺเสสุ                                           ทสสุ  เยน  ตตฺตกํ
               กาลํ  โกลาหลํ  ชาตํ                                        ยาว  พฺรหฺมนิเวสนา
               เทวามนุษย์ทั่ว                                                  พหุภพประเทศใน
               หมื่นจักรวาลได้                                              ดำริสิ้นจิรังกาล
               แล้วยังบ่รู้มง -                                                  คละสมมโนมาลย์
               ด้วยกาละล่วงนาน                                          บ่มิได้ประสงค์สม
               ได้เกิดซึ่งโกลา -                                               หละยิ่งมโหดม
               ก้องถึงณชั้นพรหม                                          ธสถิตสะเทือนไป
(๓)         ยํ  โลกนาโถ  เทเสสิ
               องค์โลกนาถเทศน์                                          วรมังคลาใด
(๔)         สพฺพปาปวินาสนํ                                           
               ยังปาปะปวงให้                                               ทุษะเสื่อมวินาศมล          
(๕)         ยํ  สุตฺวา  สพฺพทุกฺเขหิ                                    มุจฺจนฺตาสงฺขิยา  นรา
ชนหลายบพึงนับ                                            ผิสดับสุมงคล
               ใดแล้วและรอดพ้น                                         พหุทุกขะยายี
(๖)         เอวมาทิคุณูเปตํ                                                มงฺคลนฺตมฺภณาม  เส.ฯ
               เราควรจะกล่าวมง -                                        คละอันประเสริฐที่
               กอบด้วยคุณามี                                                วรอัตถะเฉิดเฉลาฯ

                                                                มลคลสูตร
(๑)         เอวมฺเม  สุตํ
               องค์พระอานนท์ท่านเล่า                                ว่าข้าพเจ้า
               ได้ฟังมาแล้วดังนี้
(๒)        เอกํ  สมยํ  ภควา
               สมัยหนึ่งพระผู้มี                                             พระภาคชินสีห์
               ผู้โลกนาถจอมธรรม์
(๓)         สาวตฺถิยํ  วิหรติ  เชตวเน  อนาถปิณฺฑิกสฺส  อาราเม.
               ประทับ  ณ  เชตะวัน                                       วิหาระอัน
               อนาถบิณฑิกไซร้
               จัดสร้างอย่างดีที่ใน                                        สาวัตถีให้
               เป็นที่สถิตสุขา
(๔)         อถ  โข  อญฺญตฺรา  เทวดา
               ครั้งนั้นแลเทวดา                                             องค์หนึ่งมหา
               นุภาพมหิทธิ์ฤทธี
(๕)         อภิกฺกนฺตาย  รตฺติยา  อภิกฺกนฺตวณฺณา
               ล่วงประถมยามราตรี                                      เธอเปล่งรัศมี
               อันเรืองระยับจับเนตร
(๖)         เกวลกปฺปํ  เชตวนํ  โอภาเสตฺวา
               แสงกายเธอปลั่งยังเขต                                   ส่วนแห่งเจ้าเชต
               สว่างกระจ่างทั่วไป
(๗)        เยน  ภคมา  เตนุปสงฺกมิ
               องค์พระภควันต์นั้นไซร้                                ประทับแห่งใด
               ก็เข้าไปถึงที่นั้น
(๘)         อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา
               ครั้งเข้าใกล้แล้วจึ่งพลัน                                 ถวายอภิวันท์
               แต่องค์สมเด็จทศพล
(๙)         เอกมนฺตํ  อฏฺฐาสิ.
               แล้วยินที่ควรดำกล                                         เสงี่ยมเจียมตน
               แสดงเคารพนบคีร์
(๑๐)       เอกมนฺตํ  ฐิตาโข  สา  เทวตา
               เมื่อเทวดายืนดี                                                 สมควร  ณ  ที่
               ข้างหนึ่งดังกล่าวแล้วนั้น
(๑๑)       ภควนฺตํ  คาถาย  อชฺฌภาสิฯ
               จึ่งได้ทูลถามภควันต์                                      ด้วยถ้อยประพันธ์
               เป็นพระคาถาบรรจงฯ
               พหู  เทวา  มนุสฺสา  จ                                      มงฺคลานิ  อจินฺตยํ
               อากงฺขมานา  โสตฺถานํ                                   พฺรูหิ  มงฺคลมุตฺตมํฯ
               เทพอีกมนุษย์หวัง                                           คติโสตถิจำนง
               โปรดเทศนามง -                                             คละเอกอุดมดีฯ
               (ฝ่ายองค์สมเด็จพระชินสีห์                           ตรัสตอบวาที
               ด้วยพระคาถาไพจิตร)
ข้อคิดที่ได้รับ
๑.     มงคลสูตรนี้สามารถนำไปสู่ความเจริญและนื่องให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต
๒.    ทำให้สังคมโดยรวมสงบสุขและเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
คำศัพท์
โกศล            หมายถึง       ฉลาด  ในที่นี้หมายถึง ประเสริฐ ในความว่า พหุธรรมะโกศล
ขุททกนิกาย  หมายถึง      ชื่อนิกายหนึ่งใน ๕ นิกายของพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เป็นหมวด                                                    พระธรรมขันธ์หรือพระสูตรเล็กน้อยหรือย่อยๆ
ขุททกปาฐะ   หมายถึง     บทสวดหรือบทสวดสั้นๆ แต่ละบทล้วนเป็นธรรมที่เป็นเบื้องต้นแห่งการ                                                ถึงธรรมขั้นสูงขึ้นไป  หรือเป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญโดยส่วนเดียว
                                             มีทั้งหมด ๙ บท
คติ                  หมายถึง      วิธี แนวทาง แบบอย่างในทางพระพุทธศาสนา  หมายถึง แบบการ
                                             ดำเนินชีวิต
คาถา              หมายถึง      คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี
จิรังกาล          หมายถึง     เวลาช้านาน
จำนง              หมายถึง      ประสงค์  มุ่งหวัง  ตั้งใจ
ชินสีห์            หมายถึง      พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า  แปลว่า  ผู้ชนะ
ฉนำ               หมายถึง       ปี
เฉิดเฉลา        หมายถึง      งามเด่น  สง่าผ่าเผย
ดำกล             หมายถึง       ตั้งไว้  ยืนอยู่
ติระ               หมายถึง      ฝั่ง
ทะเลวน        หมายถึง      การเวียนว่ายตายเกิดหรือสงสารวัฏ
ทุษะ              หมายถึง      คือ โทษ หมายถึง ความไม่ดี ความชั่ว
                                             พ่อ  บิดา
นร                 หมายถึง      คน
บรรสาน       หมายถึง      คือ  ประสาน  หมายถึง  เชื่อม  ผูกไว้
บำเรอ           หมายถึง      รับใช้  ปรนนิบัติให้เป็นที่ชอบใจ
ประคอง       หมายถึง      พยุงให้ทรงตัวอยู่  ในที่นี้หมายถึง  ให้ความอุปการะ เลี้ยงดูอบรม
ประถมยาม  หมายถึง      ยามต้น ในบาลีแบ่งกลางคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง
                                       ดังนี้ ปฐมยาม      ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ ๒๒.๐๐ น.
                                        มัชฌิมยาม  ตั้งแต่เวลา ๒๒.๐๐ ๐๒.๐๐ น.
                                          ปัจฉิมยาม   ตั้งแต่เวลา ๐๒.๐๐ ๐๖.๐๐ น.
ปาปะ             หมายถึง      คือ บาป หมายถึง ความชั่ว ความร้าย กรรมชั่ว อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึง
                                        เดือดร้อน  สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว  คือทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง
พระสูตร         หมายถึง     พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่งๆ ในพระสุตตันตปิฎก
ไพจิตร            หมายถึง     งาม